BOTS
  • CATEGORIES
      Art & Design
      Lifestyle
      Warmwelcome
      BOTS News
      Coffee Break
      What if ?
      Trans_
      สนทนา
  • VIDEOS
      1591849850911800-Logo-DHB-01.png
      1591849934985394-Your-pen-Logo-02.png
  • logo
    logo
logo
  • CATEGORIES
    • Art & Design
    • Lifestyle
    • Warmwelcome
    • BOTS News
    • Coffee Break
    • What if ?
    • Trans_
    • สนทนา
  • VIDEO
    • DIE HARD BUSINESS
    • Your Pen
  • ABOUT ME
  • DARK MODE
Matchanu - มัชฉานุ  เสียงตะโพนของสลิล ในโขนบาโรก “มัชฉานุ”
  • Art & Design
  • Mar 10,2022

Matchanu - มัชฉานุ เสียงตะโพนของสลิล ในโขนบาโรก “มัชฉานุ”

ปลายปีก่อน BOTS WORLD ได้มีโอกาสพูดคุยกับ สลิล ชีวพันธุศรี มือกลองชาวไทยที่เดินทางข้ามโลกผ่านเสียงกลองอันทรงพลัง ที่ได้ร่วมบันทึกเสียงกับ โดมินิก ฟิลส์-เอมเม่ร์ (Dominique Fils-Aimé) ศิลปินแจ๊สชาวแคนาดา เจ้าของรางวัล Juno Awards ก่อนจะออกอัลบั้มเดี่ยวที่เป็นส่วนผสมของดนตรีหลากสไตล์ตั้งแต่ฮิปฮอปไปจนถึงเวิร์ลมิวสิคอย่าง Cosmic Island (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://botsworld.co/content/salin-cosmic-island)
 
Matchanu
 
Matchanu
Matchanu
 
ล่าสุดเราได้มีโอกาสกลับมาพูดคุยกับสลิลอีกครั้ง หลังจากเธอส่งข่าวว่า ได้ร่วมงานกับ นักไวโอลิน หญิงไทย คุณสาลินี อัมมวรรธน์ และนักรำโขน เบญจมินทร์ ตาดี ซึ่งกำลังมีโปรเจกต์ทางดนตรีใหม่หมาดซึ่งเป็นการรวมเอาวัฒนธรรมจากสองขั้วโลกมาผสานไว้ด้วยกัน นั่นคือโปรเจ็กต์ “Matchanu - มัชฉานุ” ที่ได้หยิบจับเรื่องราวของ “มัชฉานุ” ลูกชายครึ่งวานรครึ่งปลาของหนุมานในมหากาพย์รามเกียรติ์ มาถ่ายทอดเป็นโชว์โขนไทยคอนเทมโพรารี่ วาดลวดลายเคล้ากับเสียงเครื่องดนตรีตะวันตกแนวบาโรก (Baroque)
 
Matchanu - มัชฉานุ เป็นงานการแสดงที่นำนาฏศิลป์ไทยอย่างโขนและดนตรีบาโรกฝรั่งเศส ซึ่งเป็นศิลปะสองแบบจากสองทวีปมาประยุกต์รวมกันเพื่อสร้างผลงานศิลปะรูปแบบใหม่ ที่เล่าถึงถึงเรื่องราวของมัจฉานุ ตัวละครครึ่งวานรครึ่งปลาที่มาจากการผสมรวมของสัตว์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้อย่างลงตัว เฉกเช่นเดียวกับศิลปะต่างรากมารวมกัน ออกแบบกระบวนท่ารำโดย เบญจมินทร์ ตาดี และกำกับดนตรีโดย สาลีนี อัมมวรรธน์ ถ่ายทำและบันทึกใน Montreal และกรุงเทพฯ โดยมีนักแสดงจากโรงละครแห่งชาติ กรมศิลปากร และดนตรีที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี Baroque โดยล่ามชั้นนำของ Montreal เกี่ยวกับการแสดงเชิงประวัติศาสตร์
 
โปรเจกต์ดังกล่าว สลิลได้ขอวางไม้กลองไว้ชั่วคราว ก่อนจะนั่งพับเพียบ และเปลี่ยนมาใช้มือแตะสัมผัสหนังกลองทัด กลองตะโพน รับหน้าที่ในการกำกับจังหวะของโชว์ทั้งหมด โดยความพิเศษของโปรเจ็กต์นี้ อาจเป็นรามเกียรติ์ข้ามโลกโชว์แรกๆ เพราะถ่ายทำวิดีโอโขนที่ไทย แต่บันทึกเสียงไกลถึงแคนาดา แถมทุกคนยังสามารถรับชมโชว์นี้แบบออนไลน์โดยไม่ต้องออกจากบ้านอีกด้วย
 
สลิลเล่าโปรเจกต์เบื้องต้นว่ามาจากการรู้จักคุณสุกิจจา ไก่ วงษ์สวรรค์ วิทคอมบ์ ประธานสภาวัฒนธรรมไทยในแคนาดา และตอนนั้นเขาก็กำลังจะจัดงานสังสรรค์ 60 ปี ความสัมพันธ์ไทย - แคนาดา แล้วเขาก็แนะนำให้สลิลรู้จักกับคุณสาลินี อัมมวรรธน์ นักไวโอลินหญิงไทย ที่อยากจะรวมดนตรี Classical Baroque กับ การแสดงโขน (chreograph โดย Benjamin Tardiff) จนเกิดเป็นโปรเจ็กต์ “มัจฉานุ” ซึ่งเป็นการแสดง ร่วมความสัมพันธ์ของสองวัฒนธรรม (ไทยและ french-canadian) ได้อย่างลงตัว
 
“ตอนแรกก็รู้สึกว่ายากค่ะ เพราะสลิลไม่เคยเล่นตะโพนหรือกลองไทยมาก่อนงานนี้เลย เคยเล่นแต่ขิมตอนเด็กๆ แล้วก็ไม่ค่อยรู้จักดนตรีบาโรกสักเท่าไหร่ด้วย แต่อาจจะเป็นเพราะเรามีความคุ้นเคยกับดนตรีไทยมาก่อน พอได้ยินดนตรีบาโรก ที่พี่สาลินีเขาเลือกให้กับการแสดงงานนี้ เราก็รู้ทันทีเลยว่าจะต้องเล่นอย่างไร แล้วก็ได้แพทเทิร์นของเพอร์คัสชั่นทันทีค่ะ” สลิล กล่าว
 
Matchanu
Matchanu
Matchanu
การปรับตัวของสลิลในโปรเจ็กต์นี้ เริ่มต้นด้วยการยืมตะโพน กลองทัด โทนและกรับมาหัดเล่นและฝึกที่บ้าน มีเวลาเพียง 1 เดือนก่อนวันอัดเสียงเท่านั้น สลิลอธิบาย
 
“Ziya มือเพอร์คัสชั่นชาวแคนาดา ที่เล่นในงานนี้ด้วยกับพี่สาลินี เขาก็ให้คำแนะนำค่ะว่าควรจะเล่นอะไรบ้าง แล้วก็ให้ Chart กำกับการเล่นมา ส่วนสลิล ก็มาปรับดูเสริมความเป็นไทยมากขึ้น ส่วนเพลงที่เป็น Trailer สลิลก็เป็นคนคิด Solo Pattern กลองเอง
 
“ด้วยความที่เราไม่ได้ศึกษาดนตรีไทยมาก่อน เลยมีความคิดใหม่ๆ สำหรับการผสมผสานกับดนตรีบาโรก ให้เข้ากัน ทันสมัยมากขึ้น แรกๆ ก็ยากหน่อย เพราะไม่เคยเล่นตะโพนก่อนงานนี้เลย แล้วแถมตอนนั้นยังเจ็บมืออยู่ด้วย เราก็เริ่มจากเรียนแพทเทิร์นพื้นฐานของตะโพนก่อนค่ะ ว่าเสียงไหนต้องตียังไง ดูจากยูทูปไม่มีคนสอน เพราะเรามีเวลาแค่เดือนเดียวที่จะต้องศึกษาเครื่องดนตรีและเพลง แต่เราก็มีความเข้าใจของจังหวะและ Coordination อยู่แล้วก็เลยไม่ยากเท่าไหร่ แถมเวลาสลิลเล่นกลองก็จะนึกถึงท่าคนเต้นอยู่แล้ว เลยไม่แตกต่างมากค่ะ สนุกด้วย” สลิล กล่าว
 
นับว่า “มัชฉานุ” จะเป็นโชว์หนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะทั้งดนตรีบาโรก และการแสดงโขนเองนั้น เป็นศิลปะที่มีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ การนำทั้งสองสิ่งมาประยุกต์กันจนออกมาเป็นโชว์ที่ลงตัว เป็นมุมมองที่ทันสมัย จึงนับเป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ไม่บ่อย
 
สลิลกล่าวเสริมว่าโชว์นี้ให้ความรู้สึกเหมือนว่าราชวงศ์ Louis XIV มานั่งจิบชาดูโขน มีความสง่างาม สวยหรู และมีความเป็นผู้ดีในสมัยนั้น และมีเป็นร่วมสมัยกับ Contemporary Dance ของสมัยนี้ด้วย
 

สำหรับผู้ที่สนใจรับชม “มัชฉานุ” สามารถซื้อบัตรได้ที่
https://www.eventbrite.ca/e/matchanu-tickets-259625455727...
จะมีการแสดงตั้งแต่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 27 มีนาคม 2565 นี้
 
ติดตามผลงานของสลิลได้ทาง https://salinmusic.com/
 

Writer

Frank Dolp

Frank Dolp


มือกลองวง Solitude Is Bliss พักวงเพราะโควิด เลยหันมาทำสัมภาษณ์และเขียนบทความ

RELATED CONTENTS

Momentos/Monuments & reMinders : เมื่อประชาชนกลับจำในสิ่งที่รัฐอยากให้ลืม

Momentos/Monuments & reMinders : เมื่อประชาชนกลับจำในสิ่งที่รัฐอยากให้ลืม

เมื่อประชาชนกลับจำในสิ่งที่รัฐอยากให้ลืม : แผนสำเร็จ Gallery & Consultant คือแกลเลอรี่ศิลปะในย่านแม้นศรี ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินสามยอด กรุงเทพฯ ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แกลเลอรี่มีแผนจะจัดนิทรรศการศิลปะ Momentos/Monuments & reMinders จัดแสดงผลงานของศิลปินไทยร่วมสมัย 3 คน ได้แก่ ล้วน เขจรศาสตร์, วนะ วรรลยางกูร และอาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ โดยมี บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รับหน้าที่คิวเรเตอร์

  • Art & Design
  • Jun 11,2020

9 งานศิลป์แห่งโรคระบาด

9 งานศิลป์แห่งโรคระบาด

รวบรวมภาพจิตรกรรมของศิลปินชั้นนำของโลกที่สะท้อนเหตุการณ์โรคระบาดครั้งสำคัญ จากกาฬโรค (Black Death) ที่คร่าชีวิตผู้คนกว่า 200 ล้าน ถึงไข้หวัดสเปนในต้นศตวรรษที่ 20 และการระบาดครั้งแรกของ HIV ในทศวรรษ 80s ไปดูกันว่าศิลปินแต่ละคนในแต่ละยุค มีมุมมองต่อโรคอย่างไร

  • Art & Design
  • Jun 12,2020

ALMOST FICTION by อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

ALMOST FICTION by อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล จัดแสดงอยู่ใน Gallery Seescape เชียงใหม่ เซ็ทภาพถ่ายพลทหารไร้ใบหน้า ที่ศิลปินมองว่ามันคือภาพแทนของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในประเทศนี้

  • Art & Design
  • Jul 19,2021

logo
  • categories
  • videos
  • about me
Copyright © 2020 BOTS. All Rights Reserved. Powered by I GEAR GEEK